วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เปิดรับสมัคร นักเรียนนายร้อยตำรวจ (ทั้งชายและหญิง) เร็ว ๆ นี้


สำหรับผู้ที่ไฝ่ฝันจะเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ เตรียมตัวให้พร้อม
คุณสมบัติ
ข้าราชการตำรวจ (ชาย-หญิง)
- รับราชการตำรวจมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- อายุไม่เกิน 25 ปี
บุคคลภายนอก (เพศหญิง)
- สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี ไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์นับถึ
งวันปิดรับสมัคร
- ส่วนสูง ไม่น้อยกว่า 160 ซม


กำหนดการณ์ต่าง ๆ มีดังนี้


ตัวอย่างนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง (นรต.66) ที่สำเร็จการฝึกอบรมแล้วครับ




วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข่าวเกี่ยวกับการเปิดสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี 2557

สำหรับผู้ที่มีความตั้งใจจะเข้ามาเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา
ในชั้นที่เปิดรับ คือ วุฒิ ม.6 หรือ ปวช. หรือเทียบเท่า หรืออาจจะเป็นผู้ทีเคยผ่านการสอบมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะด้วยเหตุผลหลากหลายประการ เช่น เตรียมตัวไม่พร้อม ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอบ เป็นต้น จะอย่างไรก็ตาม ไม่มีความล้มเหลว สำหรับผู้ที่มีความพร้อม มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มเปี่ยม 

ขอให้ผู้ที่มีความมุ่งมั่น เตรียมพร้อม ประสบความสำเร็จครับ 


นี้คือแผนการรับสมัครนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี 2557 จำนวนที่รับ 5,000 อัตรา กำหนดการที่จะเปิดรับสมัคร คาดว่าน่าจะประมาณเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2557 และสอบประมาณเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2557

โดยรับจากผู้มีวุฒิ ม.6 ปวช. หรือเทียบเท่า (ในเอกสารอาจจะระบุไว้ว่า ป.ตรี ซึ่งน่าจะผิดพลาด)
ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องรอติดตามต่อไปนะครับว่า จะเปิดรับอย่างไร คือ
1 สายป้องกันปราบปราม จำนวนทีรับ และจะที่สำคัญ จะรับผู้หญิงเข้ามาเป็นสายป้องกันปราบปรามหรือไม่
2 สายอำนวยการและสนับสนุน จะเปิดรับสมัครหรือไม่ 
สำหรับคุณสมบัติว่าจะกำหนดอย่างไร ก็เข้าไปดูรายละเอียดตรงนี้ครับ http://aboutthaipolice.blogspot.com/2013/07/2556_7.html 

หากมีความคืบหน้าใด ๆ จะนำความเคลื่อนไหวมาแจ้งให้ทราบต่อไปครับ

กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ที่ข้าราชการตำรวจควรทราบ

สำหรับผู้ที่รับราชการอย่างพวกเราจะเลี่ยงไม่ได้ คือ วันหนึ่งจะต้องถึงวันนั้น คือ วันเกษียรณอายุราชการ
หากไม่ลาออกซะก่อนนะครับ แม้หนทางจะยังอีกยาวไกล แต่การเตรียมการ เตรียมตัว การคาดการล่วงหน้า
ว่าต่อไปจะเจออะไรบ้าง จะได้ปฏิบัติตัวถูกครับ
กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) เป็นของใหม่ (ซึ่งมีนานแล้ว) หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจครบถ้วน
และที่ผ่านมา กองทุนนี้ก็สร้างภาพลักษณ์ให้พวกเราข้าราชการทั้งหลายพยายามมองให้เห็นถึงภาพลักษณ์
ความมั่นคงที่จะได้รับเมื่อเกษียรณอายุราชการ ดั่งนี้ ผู้เขียนจะได้นำตัวอย่างต่าง ๆ ว่า เพื่อน ๆ ข้าราชการตำรวจจะได้รับ
อะไรบ้าง จากกองทุน โดยเฉพาะพวกเรา ที่ถือว่าเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2540 ไม่มีสิทธิจะลาออก ก็ต้องยอมรับ
กับสิ่งที่เป็น และเรียนรู้ว่า กบข. คืออะไร แล้วจะให้อะไรกับเราบ้าง

ตัวอย่างทั้งหมดจะยกตัวอย่างจาก ด.ต. เสรี และ ร.ต.อ. เสรีฯ อายุราชการ 35 ปี มีเงินเดือน ณ วันเกษียรณ จำนวน 35220 บาท (ณ ปี พ.ศ.2556 ยศดาบตำรวจ และ ร้อยตำรวจเอก จะมีอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดตันที่ 35220 บาท เท่ากัน และทั้ง 2 ก็เงินเดือนเต็มขั้นมากว่า 5 ปี เพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย แต่สำหรับบางท่านที่ขั้นระดับสารัตรได้ ก็จะได้รับเงินเดือนขึ้นสูงสุดที่ 49,830 บาท ซึ่งการคิดคำนวณตัวเลขก็จะเปลี่ยนไปครับ)

สมาชิก กบข. ที่เลือกรับ บำนาญรายเดือน ก็คือ ผู้ที่ยังไม่ต้องการตัดขาดจากระบบราชการประสงค์จะเป็นข้าราชการบำนาญ

และรัฐยังอุดหนุนจุนเจือในด้านสวัสดิการต่าง ๆ ต่อไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับประโยชน์ที่ได้คือ

1 เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม และเงินจากประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ สามารถดูยอดเงินได้จากยอดใบแจ้งยอดจาก กบข. ที่แจ้งให้ทราบทุก ๆ สิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีครับ ซึ่งยอดเงินในส่วนนี้ก็ขึ้นกับอัตราที่เราได้ให้ทาง กบข. หักนำส่ง ว่านำส่งเดือนละเท่าไร เริ่มต้นที่ 3% - 10% คิดเป็นยอดเงินเท่าไร รัฐก็จะสมทบเท่านั้น ถ้าคิดในแง่ดี หากเราหักเยอะ รัฐก็จะสมทบเยอะ ยอดสะสมก็จะเยอะไปด้วย แต่บอกตามตรง ว่าไม่มั่นใจครับ ว่าเมื่อถึงวันนั้น กองทุนนี้จะยังมีชีวิตอยู่เพื่อพร้อมจะจ่ายเงินนั้นเราหรือเปล่า แต่ตามกฎหมายก็ต้องยอดให้หัก ในอัตราขั้นต่ำสุด หากเป็นเช่นนั้น โดยเฉลี่ยจะมียอดสะสมในส่วนนี้ประมาณ 2.0-2.5 ล้านบาทครับ

2 เงินบำนาญรายเดือน คำนวณจากการนำเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วยอายุราชการ (อายุราชการตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 35 ปี และหารด้วย 50 จะได้จำนวนเงินบำนาญ แต่จำนวนเงินที่จะได้รับต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือน

กรณีบุคคลตามตัวอย่าง  (35220 บาท X 35 ปี) หาร 50 ผลที่ได้ 24,654 บาท แต่จะได้รับไม่เกิน 70% คือจำนวน 17,257 บาท

สรุป กรณีตามตัวอย่างจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน ๆ ละ 17,257 บาท

3 เงินบำเหน็จดำรงชีพ จะได้ 15 เท่า ของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) โดยแบ่งจ่าย 2 ครั้ง ครั้งแรกไม่เกิน 200000 บาท เมื่อปลดเกษียรณ และครั้งที่ 2 เมื่ออายุครบ 65 ปี จะจ่ายที่เหลือ

กรณีตามตัวอย่าง คือ บำนาญรายเดือน จำวน 17,257 X 15 เท่า เท่ากับ 258,855 บาท โดยจะแบ่งจ่าย 200,000 เมื่อปลดเกษียรณ และอีก 58,855 บาทเมื่อผ่านไป 5 ปี

4 เงินบำเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม ก็จะมีเงินบำเหน็จตกทอดแก่ทายาท อีก 30 เท่า ของบำนาญรายเดือน คำนวณได้เท่าไร ก็รับไปทั้งหมด โดยไม่แบ่งจ่าย ทายาทที่จะได้จะเป็นทายาทที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้

กรณีตามตัวอย่าง คือ ทายาทก็จะได้ 258,855 บาท

จะเห็นได้ว่าเมื่อปลดเกษียณไป (สำหรับผู้เขียนก็อีกเกือบ ๆ 30 ปี กว่าจะถึงวันนั้น) จำนวนเงินที่ได้รับ ณ วันนั้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินเดือนให้แตกต่างจากนี้ไปให้มากกว่านี้ เดือดร้อนแน่ ๆ ครับ เพราะวันนี้ข้าวแกงจานหนึ่ง ๆ ราคาก็ 35-40 บาท ต่อไปอีก 30 ปี ราคาคงไม่ใช่เท่านี้แน่นอน

หวังว่าบทความนี้อาจจะเพิ่มความรู้ความเข้าใจในกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ (กบข.) ให้กับท่านที่สนใจได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://www.policebd51online.com/gpf-for-bd.html

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะเปิดรับสมัครบุคคลภายนอก วุฒิ ม.6/ปวช. เข้าเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สายงานป้องกันปราบปราม บรรจุแต่งตั้งยังหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่าง ๆ ทั่วประเทศ หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่มีความเข้าใจ หรือ สงสัยว่า หน่วยงานต่าง ๆ นั้น ๆ มีอำนาจหน้าทีอย่างไร มีพื้นที่ ขอบเขตอำนาจอยู่ ณ ตรงไหนบ้าง เพราะการสอบคัดเลือกครั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดอัตราให้แต่ละกองบัญชาการต่าง ๆ ตามความจำเป็นที่หน่วยงานนั้น ๆ ร้องขอมา ตามอัตราที่เปิดรับ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.), กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 - 9 (บช.ภ.1 - 9) และ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.)ซึ่งกองบัญชาการดังกล่าว เป็นกองบัญชาการหลักในงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งเป็นกำลังหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีกำลังพลจำนวนมากในการปฏิบัติหน้าที่ และในการเปิดรับสมัครนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี พ.ศ.2556 จำนวน 2773 อัตรานี้ จะให้ผู้สมัครได้เลือกหน่วยสอบ เพื่อสอบแข่งขัน และเมื่อได้รับการคัดเลือกแล้วจะต้องเข้ารับการการฝึกอบรม ณ ศูนย์ฝึกของกองบัญชาการนั้น ๆ และบรรจุแต่งตั้ง ณ หน่วยงานต้นสังกัดนั้น ๆ ด้วย ดังนั้น จึงมีความสำคัญในการเลือกสมัครสอบ ในการนี้จะได้แจ้งอย่างคร่าว ๆ เกี่ยวกับการแบ่งกองบัญชาการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) แบ่งออกเป็น 9 กองบังคับการ (บก.) คือ บก.น.1-9 ครอบคลุมเขตในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีศูนย์ฝึกอบรมกลาง (บก.ฝรก.) เป็นศูนย์ฝึก ตั้งอยู่ ณ ศาลายา จังหวัดนครปฐม หน่วยงานหลัก ๆ ที่จะได้รับอัตราจัดสรรเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับนครบาลครับ คือ น้อง ๆ จะต้องเข้าไปเป็นกำลังสับเปลี่ยนกับรุ่นพี่ ในหน่วยงานหลัก ๆ คือ ควบคุมฝูงชน (คฝ.) และอารักขาและรักษาความปลอดภัย (อป.) ก็คือหน่วยปราบจราจล กับ หน่วยอารักขาและรักษาความปลอดภัย (วัง) ซึ่งจะไปทดแทนกำลังของรุ่นพี่ และรุ่นพี่ก็จะขยับขยายออกมายังตำแหน่งตาม สน.ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านานครับ น้อง ๆ จะได้ออกมา ต่อเมื่อมีกำลังอย่างนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นต่อ ๆ ไป เข้ามาทดแทนครับ
หน่วยงานที่เปิดรับ บช.ศ. รับจำนวน 550 อัตรา

2 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ปริมณฑล และภาคกลางบางส่วน ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.ชัยนาท ภ.จว.นนทบุรี ภ.จว.ปทุมธานี ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา ภ.จว.ลพบุรี ภ.จว.สมุทรปราการ ภ.จว.สระบุรี ภ.จว.สิงห์บุรี และ ภ.จว.อ่างทอง ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1 อยู่ ณ จังหวัดสระบุรี เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม

หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.1 รับจำนวน 275 อัตรา

3 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.จันทบุรี ภ.จว.ฉะเชิงเทรา ภ.จว.ชลบุรี ภ.จว.ตราด ภ.จว.นครนายก ภ.จว.ปราจีนบุรี ภ.จว.ระยอง และ ภ.จว.สระแก้ว ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2 (เขาน้อย) อยู่ ณ จังหวัดชลบุรี เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม

หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.2 รับจำนวน 275 อัตรา

4 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสานตอนล่าง) ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.ชัยภูมิ ภ.จว.นครราชสีมา ภ.จว.บุรีรัมย์ ภ.จว.ยโสธร ภ.จว.ศรีสะเกษ ภ.จว.สุรินทร์ ภ.จว.อำนาจเจริญ และ ภ.จว.อุบลราชธานี ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 (จอหอ) อยู่ ณ จังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม 5

หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.3 รับจำนวน 165 อัตรา

5 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสานตอนบน) ประกอบด้วยตำรวจภูร (ภ.จว.) ภ.จว.กาฬสินธุ์ ภ.จว.ขอนแก่น ภ.จว.นครพนม ภ.จว.บึงกาฬ ภ.จว.มหาสารคาม ภ.จว.มุกดาหาร ภ.จว.ร้อยเอ็ด ภ.จว.สกลนคร ภ.จว.หนองคาย ภ.จว.หนองบัวลำภู ภ.จว.อุดรธานี ภ.จว.เลย  ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 4 (มอดินแดง) อยู่ ณ จังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม 
หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.4 รับจำนวน 83 อัตรา

6 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.น่าน ภ.จว.พะเยา ภ.จว.ลำปาง ภ.จว.ลำพูน ภ.จว.เชียงราย ภ.จว.เชียงใหม่ ภ.จว.แพร่ และ ภ.จว.แม่ฮ่องสอน  ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ ณ จังหวัดลำปาง เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม
หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.5 รับจำนวน 192 อัตรา

7 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.กำแพงเพชร ภ.จว.ตาก ภ.จว.นครสวรรค์ ภ.จว.พิจิตร ภ.จว.พิษณุโลก ภ.จว.สุโขทัย ภ.จว.อุตรดิตถ์ ภ.จว.อุทัยธานี และ ภ.จว.เพชรบูรณ์ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 อยู่ ณ จังหวัดนครนครสวรรค์ เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม
หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.6 รับจำนวน 83 อัตรา

8 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.กาญจนบุรี ภ.จว.นครปฐม ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ ภ.จว.ราชบุรี ภ.จว.สมุทรสงคราม ภ.จว.สมุทรสาคร ภ.จว.สุพรรณบุรี และ ภ.จว.เพชรบุรี ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 (สนามจันทร์) อยู่ ณ จังหวัดนครนครปฐม เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม
หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.7 รับจำนวน 165 อัตรา

9 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ต้นบน ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.กระบี่ ภ.จว.ชุมพร ภ.จว.นครศรีธรรมราช ภ.จว.พังงา ภ.จว.ภูเก็ต ภ.จว.ระนอง และ ภ.จว.สุราษฎร์ธานี
ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 (ขุนทะเล) อยู่ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรม
หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.8 รับจำนวน 275 อัตรา

10 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 มีเขตอำนาจอยู่ในเขตพื้นที่ใต้ตอนล่าง ประกอบด้วยตำรวจภูธร (ภ.จว.) ภ.จว.ตรัง ภ.จว.พัทลุง ภ.จว.สงขลา และ ภ.จว.สตูล
หน่วยงานที่เปิดรับ ภ.9 รับจำนวน 50 อัตรา

11 กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน  มีเขตอำนาจอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น 4 ภาค (แต่ละภาค จะแบ่งออกเป็นหลายหน่วย) คือ ภาค 1 เขตภาคกลางและภาคตะวันออก ภาค 2 เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค 3 เขตภาคเหนือ และภาค 4 ภาคใต้ และมีกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งอยู่ ณ บริเวณแถว ๆ สะพานควาย ศูนย์ฝึกอบรมของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมีจำนวนมาก (กฝ.1-9) แบ่งออกทั่วประเทศเช่นกัน แต่ในการรับสมัครนักเรียนายสิบตำรวจนั้น น่าจะอบรมที่แปลงยาว (กฝ.1) และ ที่ จว.เพชรบุรี (กฝ.7) ซึ่งจะต้องดูรายละเอียดในการรับสมัครอีกครั้งหนึ่ง
หน่วยงานที่เปิดรับ บช.ตชด. รับจำนวน 660 อัตรา

รวมจำนวนที่เปิดรับนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี 2556 จำนวน 2,773 อัตรา

หมายเหตุ : สำหรับน้อง ๆ ที่จะสมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี พ.ศ.2556 นี้ ต้องพิจารณาให้ดี ในหลาย ๆ อย่างครับ เช่น มีภูมิลำเนาที่ไหน ต้องการจะใช้ชีวิตที่ใด เพราะหากได้รับการคัดเลือกแล้ว ต้องบรรจุแต่งตั้งอย่างน้อย 4 ปี จึงจะมีสิทธิ์แต่งตั้ง (ย้ายตำแหน่ง) ไปยังตำแหน่งอื่นได้ อัตราที่เปิดรับก็สำคัญครับ เปิดรับมาก อัตราแข่งขันน้อย เปิดรับน้อย อัตราแข่งขันมาก แบบนี้เป็นต้น ในเบื้องต้นจากสถิติที่ผ่านมา ใน ตำรวจภูธรภาค 3 และ ภาค 4 จะมีผู้เข้าสมัครแข่งขันสูงมาโดยตลอด และครั้งนี้ก็น่าจะเช่นเดียวกัน แต่อัตราที่เปิดรับค่อนข้างน้อย จึงน่าจะเป็นที่หนักใจกับน้อง ๆ ที่จะสมัครเข้าแข่งขันครับ


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การฝึกอบรมของนักเรียนนายสิบตำรวจ

หลังจากที่น้อง ๆ ได้ผ่านการคัดเลือกทุกอย่างแล้ว น้อง ๆ ต้องเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์ฝึกที่กำหนดไว้ ณ ศูนย์ฝึกต่าง ๆ ส่วนระยะเวลาแตกต่างกันไป แล้วแต่ละหลักสูตร ซึ่งที่ผ่านมา มีจำนวนหลายหลักสูตรด้วยกัน เช่น
หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ ระยะเวลา 1 ปี
หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ (หลักสูตรเร่งรัดลง 3 จว.) 6 เดือน
หลักสูตรนักเรียนนายสิบ (ทหารเกณฑ์) 4 เดือน
หลักสูตร กอป. , กปป, (ปริญญาตรี) 5 เดือน เป็นต้น
ซึ่งแต่ละหลักสูตร มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น หลักสูตร นักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) กับ หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ (หลักสูตรเร่งรัดฯ) ก็ดำเนินการสอบมาพร้อมกัน แต่กำหนดระยะเวลาไม่เท่ากัน และได้มีการให้มีการทำบันทึกสมัครใจ สำหรับผู้ที่สมัครใจเข้ารับการฝึกและเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง ณ 3 จว.ชายแดนใต้ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาในการฝึกแตกต่างกัน ความเข้มข้นในการฝึกก็ย่อมไม่เท่ากัน เนื่องจากวัตถุประสงค์ ความต้องการในการใช้กำลังพลในภาคส่วนดังกล่าว มีความจำเป็นเร่งด่วน
แต่ไม่ว่าจะฝึกระยะเวลาเท่าไร น้อง ๆ ต้องพร้อมเต็มที่สำหรับการฝึก

สำหรับการฝึกตามหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.)นั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
1 ภาควิชาการและภาคการฝึก ประมาณ 9 เดือน จะมีการฝึกอบรมความรู้ทางด้านวิชาการที่จำเป็นในการทำงาน และจะควบคู่ไปด้วยการฝึกระเบียบวินัย การฝึกแบบตำรวจต่าง ๆ
2 ภาคสนาม (หลักสูตรชัยยะ หรือหลักสูตรพิทักษ์สันติ) ประมาณ 2 เดือน จะเป็นการฝึกภาคสนาม ไม่ว่าจะเป็นการฝึก ณ ศูนย์ฝึกอบรมส่วนหนึ่ง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ส่วนหนึ่ง และครั้งสุดท้ายจะเข้ารับการฝึก ณ สถานที่จริง ระยะเวลาประมาณ 3-5 วัน
3 ฝีกงาน ประมาณ 1 เดือน นักเรียนจะได้ใช้ความรู้ ความสามารถต่าง ๆ ที่ได้ฝึกอบรมมา เข้าทำงานจริง กับสถานที่จริง กับตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่จริง ๆ น้อง ๆ จะได้รับการฝึกจากรุ่นพี่ ในงานต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีการหมุนเวียน เปลี่ยนงาน ในห้วงระยะเวลาที่น้อง ๆ เข้ารับการฝึกงานครับ

ในการนี้ขอนำภาพบรรยากาสในการฝึกอบรมตลอดระยะเวลามาให้ได้รับชมกันครับ

ภาพบรรยากาศในการฝึกช่วงแรก ๆ

บรรยากาศการฝึกอบรมภาควิชาการและการฝึกระเบียบต่าง ๆ

การฝึกภาคสนาม (หลักสูตรชัยยะ)

ขอบคุณ : http://www.policebd51online.com/ สำหรับภาพบรรยากาศในการฝึกอบรมครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คุณสมบัติ ของนักเรียนนายสิบตำรวจ 2557


คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ สายป้องกันปราบปราม ประจำปี พ.ศ.2557
1 เป็นบุคคลภายนอก เพศชาย มีสถานะโสด
กล่าวคือ ไม่เป็นข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากประสงค์จะสมัครสอบ ต้องลาออกก่อนวันสมัครสอบครับ สถานะโสด คือ ยังไม่ได้ได้แต่งงานตามกฎหมาย หากแต่งงานแล้ว หรือมีบุตรแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็ไม่ห้ามครับ
2 มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่เกินยี่สิบเจ็ดปีบริบูรณ์ นับถึงวันปิดรับสมัคร
3 ร่างกายต้องสูงไม่น้อยกว่า 160 ซ.ม. และรอบอกไม่น้อยกว่า 77 ซ.ม.
4 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัติระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า โดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติวุฒิการศึกษาจากสถานศึกษานั้น ๆ ภายในวันปิดรับสมัคร
5 คุณวุฒิการศึกษาที่ใช้ในการสมัครคัดเลือกดังกล่าว ต้องเป็นคุณวุฒิการศึกษาที่ ก.ตร. หรือสำนักงาน ก.พ. ได้รับรองไว้ และถ้ามีวุฒิสูงกว่าที่กำหนดจะนำมาเรียกร้องสิทธิใด ๆ ไม่ได้
กล่าวคือ เช่นถ้ามีคุณวุฒิ ปวส. ปริญญาตรี หรือสูงกว่า จะนำมาเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ เช่น การครองยศ ระดับเงินเดือน หรืออื่น ๆ ไม่ได้ครับ
6 มีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนด
คุณสมบัติทั่วไป ที่สำคัญ เช่น
-  สัญชาติไทยโดยการเกิด
-  เป็นผู้เลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-  ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
-  ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (คือ ต้องเคยจำคุกจริง ๆ มาแล้ว) ยกเว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
-  ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ
  ไม่เป็นผู้ที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร คือ ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ผู้ที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับราชการกองประจำการในปีนั้น ๆ สำหรับผู้ที่มีภาระทางทหาร มีดังนี้
     - ผู้ที่อยู่ระหว่างผ่อนผันเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการทหาร หรือผ่อนผันเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์)
     - ผู้ที่ได้รับการตรวจเลือกเป็นทหารเกณฑ์ตามขั้นตอนทางทหาร และจะต้องเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556 (ผลัด 2) เป็นต้นไป
     - ผู้ที่รับราชการเป็นทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) และจะปลดจากองประจำการหหลังวันที่ 31 ตุลาคม 2556
     - ผู้ที่อายุครบเกณฑ์เข้ารับการตรวจเลือกทางทหารที่ไม่ได้เข้ารับการตรวจเลือกทางทหารตามกำหนด
      อนึ่ง สำหรับผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหาร (รด.) หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 - 20 ปี ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินแล้ว (มีหลักฐานทางทหารเป็น สด.9) และยังไม่ได้ใช้สิทธิผ่อนผันเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหาร สามารถสมัครสอบได้
      ทังนี้ สำหรับทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ที่จะปลดจากกองประจำการ (พ้นจากการเป็นทหารเกณฑ์) ในวันที่ 1 พ.ย.2556 ให้มีสิทธิสมัครสอบได้ เนื่องจากตามประกาศรับสมัครนี้ จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจในวันที่ 1 พ.ย.2556 เป็นต้นไป
-  ไม่เป็นผู้มีสายตาผิดปกติ ตรวจแบบเสนลเลน (ปกติ 6/6)
  ไม่เป็นผู้มีสายตาบอดสี
  ไม่เป็นผู้มีแผลเป็น ไฝ ปาน รอยสัก หูด หรือซีสต์ ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งมีขนาดใหญ่หรือมากจนและดูน่าเกลียด ก็คือ การตรวจสายตา การตรวจลักษณะทางกายภาพของร่างกายแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจจะเป็นผู้ตรวจ ความเห็นของแพทย์ถือเป็นที่สุดครับ  


6 พระภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวชในศาสนาใด ๆ ทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อนุญาตให้เข้าสอบ ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม ฉบับลงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2538