วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ที่ข้าราชการตำรวจควรทราบ

สำหรับผู้ที่รับราชการอย่างพวกเราจะเลี่ยงไม่ได้ คือ วันหนึ่งจะต้องถึงวันนั้น คือ วันเกษียรณอายุราชการ
หากไม่ลาออกซะก่อนนะครับ แม้หนทางจะยังอีกยาวไกล แต่การเตรียมการ เตรียมตัว การคาดการล่วงหน้า
ว่าต่อไปจะเจออะไรบ้าง จะได้ปฏิบัติตัวถูกครับ
กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) เป็นของใหม่ (ซึ่งมีนานแล้ว) หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจครบถ้วน
และที่ผ่านมา กองทุนนี้ก็สร้างภาพลักษณ์ให้พวกเราข้าราชการทั้งหลายพยายามมองให้เห็นถึงภาพลักษณ์
ความมั่นคงที่จะได้รับเมื่อเกษียรณอายุราชการ ดั่งนี้ ผู้เขียนจะได้นำตัวอย่างต่าง ๆ ว่า เพื่อน ๆ ข้าราชการตำรวจจะได้รับ
อะไรบ้าง จากกองทุน โดยเฉพาะพวกเรา ที่ถือว่าเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2540 ไม่มีสิทธิจะลาออก ก็ต้องยอมรับ
กับสิ่งที่เป็น และเรียนรู้ว่า กบข. คืออะไร แล้วจะให้อะไรกับเราบ้าง

ตัวอย่างทั้งหมดจะยกตัวอย่างจาก ด.ต. เสรี และ ร.ต.อ. เสรีฯ อายุราชการ 35 ปี มีเงินเดือน ณ วันเกษียรณ จำนวน 35220 บาท (ณ ปี พ.ศ.2556 ยศดาบตำรวจ และ ร้อยตำรวจเอก จะมีอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดตันที่ 35220 บาท เท่ากัน และทั้ง 2 ก็เงินเดือนเต็มขั้นมากว่า 5 ปี เพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย แต่สำหรับบางท่านที่ขั้นระดับสารัตรได้ ก็จะได้รับเงินเดือนขึ้นสูงสุดที่ 49,830 บาท ซึ่งการคิดคำนวณตัวเลขก็จะเปลี่ยนไปครับ)

สมาชิก กบข. ที่เลือกรับ บำนาญรายเดือน ก็คือ ผู้ที่ยังไม่ต้องการตัดขาดจากระบบราชการประสงค์จะเป็นข้าราชการบำนาญ

และรัฐยังอุดหนุนจุนเจือในด้านสวัสดิการต่าง ๆ ต่อไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับประโยชน์ที่ได้คือ

1 เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม และเงินจากประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ สามารถดูยอดเงินได้จากยอดใบแจ้งยอดจาก กบข. ที่แจ้งให้ทราบทุก ๆ สิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีครับ ซึ่งยอดเงินในส่วนนี้ก็ขึ้นกับอัตราที่เราได้ให้ทาง กบข. หักนำส่ง ว่านำส่งเดือนละเท่าไร เริ่มต้นที่ 3% - 10% คิดเป็นยอดเงินเท่าไร รัฐก็จะสมทบเท่านั้น ถ้าคิดในแง่ดี หากเราหักเยอะ รัฐก็จะสมทบเยอะ ยอดสะสมก็จะเยอะไปด้วย แต่บอกตามตรง ว่าไม่มั่นใจครับ ว่าเมื่อถึงวันนั้น กองทุนนี้จะยังมีชีวิตอยู่เพื่อพร้อมจะจ่ายเงินนั้นเราหรือเปล่า แต่ตามกฎหมายก็ต้องยอดให้หัก ในอัตราขั้นต่ำสุด หากเป็นเช่นนั้น โดยเฉลี่ยจะมียอดสะสมในส่วนนี้ประมาณ 2.0-2.5 ล้านบาทครับ

2 เงินบำนาญรายเดือน คำนวณจากการนำเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วยอายุราชการ (อายุราชการตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 35 ปี และหารด้วย 50 จะได้จำนวนเงินบำนาญ แต่จำนวนเงินที่จะได้รับต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือน

กรณีบุคคลตามตัวอย่าง  (35220 บาท X 35 ปี) หาร 50 ผลที่ได้ 24,654 บาท แต่จะได้รับไม่เกิน 70% คือจำนวน 17,257 บาท

สรุป กรณีตามตัวอย่างจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน ๆ ละ 17,257 บาท

3 เงินบำเหน็จดำรงชีพ จะได้ 15 เท่า ของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) โดยแบ่งจ่าย 2 ครั้ง ครั้งแรกไม่เกิน 200000 บาท เมื่อปลดเกษียรณ และครั้งที่ 2 เมื่ออายุครบ 65 ปี จะจ่ายที่เหลือ

กรณีตามตัวอย่าง คือ บำนาญรายเดือน จำวน 17,257 X 15 เท่า เท่ากับ 258,855 บาท โดยจะแบ่งจ่าย 200,000 เมื่อปลดเกษียรณ และอีก 58,855 บาทเมื่อผ่านไป 5 ปี

4 เงินบำเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม ก็จะมีเงินบำเหน็จตกทอดแก่ทายาท อีก 30 เท่า ของบำนาญรายเดือน คำนวณได้เท่าไร ก็รับไปทั้งหมด โดยไม่แบ่งจ่าย ทายาทที่จะได้จะเป็นทายาทที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้

กรณีตามตัวอย่าง คือ ทายาทก็จะได้ 258,855 บาท

จะเห็นได้ว่าเมื่อปลดเกษียณไป (สำหรับผู้เขียนก็อีกเกือบ ๆ 30 ปี กว่าจะถึงวันนั้น) จำนวนเงินที่ได้รับ ณ วันนั้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินเดือนให้แตกต่างจากนี้ไปให้มากกว่านี้ เดือดร้อนแน่ ๆ ครับ เพราะวันนี้ข้าวแกงจานหนึ่ง ๆ ราคาก็ 35-40 บาท ต่อไปอีก 30 ปี ราคาคงไม่ใช่เท่านี้แน่นอน

หวังว่าบทความนี้อาจจะเพิ่มความรู้ความเข้าใจในกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ (กบข.) ให้กับท่านที่สนใจได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://www.policebd51online.com/gpf-for-bd.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น