วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เตรียมตัว พร้อมเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ ปี พ.ศ.2557

น้อง ๆ ที่มีคุณสมบัติพร้อม และพร้อมที่จะก้าวมาเป็นข้าราชการตำรวจ ไม่ต้องรีรอแล้วครับ เตรียมตัวให้พร้อม ทั้งร่างกาย จิตใจ และความพร้อมในการสอบแข่งขัน ซึ่งสำคัญมาก จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เก่งแต่สภาพร่างกายไม่พร้อม ก็ไม่สามารถไปต่อ เป็นนักกีฬาพร้อมทุกอย่าง แต่ไม่อ่านหนังสือสำหรับเตรียมตัวสอบ ก็ไม่สามารถไปต่อได้เช่นกัน ดั่งนี้พี่จะแนะนำวิธีการในการเตรียมตัว เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี พ.ศ.2557
1. เตรียมความพร้อมด้านวิชาการ 
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ตำราพิชัยสงครามของซุนวูกล่าวไว้ ต้อง ๆ ต้องรู้ว่าเนื้อหาวิชาอะไรที่จะใช้ในการสอบแข่งขัน (ซึ่งพี่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อด้านล่างนี้แล้ว) หนึ่งข้อ คือหนึ่งคะแนนเท่ากัน จะเน้นหนักไปในด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ได้ ยกเว้นแต่สำหรับบางคน ที่ไม่ไหวจริง ๆ เลือกตามลำดับความถนัด
เช่น บางคนภาษาอังกฤษ ไม่ได้เลย แต่ต้องใช้ เพราะต่อไปตำรวจต้องเป็นภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อเปิด AEC ทุกหน่วยงาน รวมทั้งตำรวจต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่ ๆ หมด 
2. ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย
ในระหว่างที่เตรียมความพร้อมทางด้านวิชการ ก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายควบคู่กันไปด้วย คือหมั่นออกกำลังกาย ซึ่งจะมีการทดสอบด้านพละศึกษาด้วย คือ การวิ่งระยะทาง 1000 เมตร และการว่ายน้ำระยะ 25 เมตร อันนี้สำคัญสำหรับน้อง ๆ ที่ว่ายน้ำไม่เป็น แต่อยากเป็นตำรวจ ต้องว่ายน้ำเป็น อย่างคิดว่า เดี๋ยวไปหัดเอาพอเป็น ก็ได้ จะบอกว่า ตกมาเยอะแล้วครับ แบบนี้เขาเรียกว่า ตายน้ำตื้นครับ
ภาคพละศึกษาสำหรับหลักสูตรนักเรียนนายสิบ ถือว่าโหดมาก สำหรับคนไม่ฟิต แต่สบาย สำหรับผู้ที่พร้อมครับ
3. ดูแลตัวเองให้ดี
 3.1รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี อย่างทำในสิ่งที่ สตช.ตั้งข้อห้ามใว้ในการรับเข้าเป็นตำรวจ ตรงนี้ก็คือ 
การตรวจประวัติ  ผู้ที่จะมาเป็นผู้รักษากฎหมาย ต้องไม่มีประวัติด่างพร้อยติดตัวมา ประวัติการโดนคดีต่าง ๆ ไม่ว่าศาลจะพิพากษาให้จำคุกหรือรอการลงโทษ ในความผิดที่กระทำโดยเจตนา ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือความผิดอื่น ๆ แม้บางครั้งความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็มีผลทำให้ตกการตรวจสอบประวัติ ซึ่งถ้ามีโอกาสดี ๆ จะนำตัวอย่างดังกล่าวมาให้ดูครับ
 3.2 ห้ามสักตามร่างกาย เพราะถ้ามีรอยสัก สตช. จะไม่รับเข้าเป็นตำรวจ ซึ่งจะมีผลทำให้น้อง ๆ ไม่ผ่านการตรวจร่างกาย แต่เรื่องดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ เพราะทุกวันนี้วิทยาการทันสมัย สามารถลบรอยสักได้ ตามสถาบันเสริมความงามต่าง ๆ น้อง ๆ จะได้รู้ว่า บางทีความคึกคะนองเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียค่าสักแค่หลักร้อย แต่ทำไมเวลาเอาออก หมดเป็นหมื่น ซึ่งนั่นก็จะเป็นอุทธาหรณ์สอนน้องต่อไป
 3.3 สายตาสั้น ทุกวันนี้เด็ก ๆ สายตาสั้นกันเยอะ เพราะใช้ชีวิตกับหน้าคอมพิวเตอร์ การใช้สายตาผิดรูปแบบ  สตช. ไม่รับผู้มีสายตาสั้น ตามกำหนด หากน้อง ๆ ๆ มีความสงสัยว่า สายตาปกติหรือเปล่าก็สามารถไปตรวจสอบได้ที่ร้านตรวจสอบสายตาทั่วไปได้ หากผิดปกติ หรือสายตาสั้น ถือว่าหมดสิทธิ์ครับ แต่ถ้ามีใจรักจะเข้ามาเป็นตำรวจจริง ๆ สามารถแก้ไขได้ คือ แก้ด้วยวิธีการทำเลสิก การทำเลสิกนี้ ต้องใช้เวลา ต้องรู้ตัวแต่เนิ่น ๆ  ครับ 

เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่งครับ

หมายเหตุ : นักเรียนนายสิบตำรวจ ปี 2557 สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องดำเนินการเปิดรับสมัครบุคคลภายนอก เข้ามาเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ เพื่อเข้าอบรมในศูนย์ฝึกอบรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ ต่อจากนักเรียนนายสิบตำรวจ 2556 ซึ่งจะสำเร็จการฝึกอบรมฯ ในวันที่ 1 พ.ย.2557 ซึ่งมีกระบวนการในการดำเนินการ คาดว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย กองบัญชาการศึกษาจะดำเนินการรับสมัครประมาณช่วงเดือน พ.ค.2557 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข่าวเปิดรับสมัครข้าราชการตำรวจ ปี พ.ศ.2557

สำหรับน้อง ๆ ที่เตรียมตัวจะสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจชั้นประทวน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะเปิดรับสมัครพร้อมกันทั่วประเทศ ตามกองบัญชาการต่าง ๆ 
(บช.ภ.1-9, บช.น. และ บช.ตชด.) ในสายงาน ดังต่อไปนี้

1 ป้องกันปราบปราม
คุณสมบัติ 
เพศชาย 
อายุตั้งแต่ 18-27 ปีบริบูรณ์ ส่วนสูง 160 ซม. รอบอก 77 ซม.ขึ้น
การศึกษา ม.6 หรือ ปวช.

2 สายอำนวยการและสนับสนุน
คุณสมบัติ
เพศชาย หรือเพศหญิง
อายุตั้งแต่ 18 - 35 ปีบริบูรณ์ ส่วนสูง 160 ซม. ขึ้น เพศหญิง 150 ซม.ขึ้น
การศึกษา ม.6 หรือ ปวช.
ทั้งนี้ รายละเอียดเพิ่มเติม ดู ณ วันประกาศรับสมัคร

แต่สิ่งที่ไม่ต้องรอ คือ อ่านหนังสือรอได้เลยครับ

สายป้องกันปราบปราม เตรียมตัวอ่านในกลุ่มวิชานี้ได้เลย
1 ความรู้ความสามารถทั่วไป 
คือ วิชาคณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่ การคิดหาเหตุผลต่าง ๆ จำนวน 25 ข้อ
2 วิชาภาษาไทย จำนวน 25 ข้อ
3 วิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 30 ข้อ
4 เทคโนโยลีสารสนเทศเบื้องต้น (คอมพิวเตอร์) 20 ข้อ
5 กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 10 ข้อ 
5 สังคม จริยธรรมและวัฒนธรรม 10 ข้อ
รวม 120 ข้อ เวลาในการทำข้อสอบ 2 ชม.30 นาที 
(เฉลี่ยมีเวลาทำข้อสอบ ข้อละ 1 นาที 25 วินาที 1 ข้อ มีค่า 1 คะแนนเท่ากัน เลือกทำวิชาที่ถนัดก่อน หรือแล้วแต่ความถนัดครับ)

สายอำนวยการและสนับสนุน เตรียมตัวอ่านในกลุ่มวิชานี้ครับ
1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
 1.1 ความรู้ความสามารถทั่วไป 20 ข้อ
 1.2 ภาษาไทย 20 ข้อ
2 ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง 20 คะแนน
 2.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 20 คะแนน
 2.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ 20 คะแนน
 2.3 ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 20 คะแนน
 2.4 สังคม วัฒนธรรมและจริธรรม 20 คะแนน
รวม 120 ข้อ เวลาในการทำข้อสอบ 2 ชม.30 นาที 

เตรียมตัวให้พร้อม 
ติดตามข่าวการสอบได้ที่นี่ครับ

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตำรวจ ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน


สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาเป็นข้าราชการตำรวจ หรือ ที่เรียกว่า “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” นั้น บางคนอาจจะมองว่าอาชีพตำรวจนั้นเป็นอาชีพที่ได้ใส่เครื่องแบบ เทห์ สมาร์ท ได้จับโจรผู้กระทำความผิด หรือบางคนอาจจะมองว่าเป็นอาชีพหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าราชการ มีความมั่นคงสูง นั่นเป็นเพียงมุมมองด้านหนึ่ง ซึ่งไม่รอบด้าน ต้องอาศัยรุ่นพี่คอยให้คำแนะนำ เพราะการจะก้าวเข้ามาสู่การเป็น 
“ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” นั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ลำดับแรก ต้องมีใจรักในความเป็นตำรวจ ตำรวจต้องพบปะกับประชาชน ตำรวจต้องจับกุมผู้กระทำความผิด เช่นความผิดตามกฎหมายจราจร อาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจ ก่นด่าตำรวจ 
เป็นจำนวนมาก อย่างนี้ ถ้าไม่มีใจรักแล้ว อยู่ยาก แต่ก่อนจะมาเป็นตำรวจได้นั้น น้อง ๆ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในความเป็นตำรวจก่อน ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไป


ตัวอย่างนี้เป็นข้าราชการตำรวจหญิงสังกัดกองปราบปราม


ความหมายของตำรวจ  ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 “ข้าราชการตํารวจหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสํานักงานตํารวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสํานักงานตํารวจแห่งชาติซึ่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตํารวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย

อำนาจหน้าที่ของตำรวจ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า
สํานักงานตํารวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีและมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความปลอดภัยสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินีพระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์พระบรมวงศานุวงศ์ผู์แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ
(2) ดูแลควบคุมและกํากับการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(3) ป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดทางอาญา
(4) รักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
(5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของข้าราชการตํารวจหรือสํานักงานตํารวจแห้งชาติ
(6) ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(7) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอํานาจ
หน้าที่ตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


หน้าที่หลักคือให้บริการประชาชน

ใช้เทคโนโลยีในการจับกุมผู้กระทำความผิด



เมื่อเห็นดั่งนี้แล้วก็ย่อมเข้าใจแล้วว่า ตำรวจเป็นข้าราชการหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีอำนาจตาม 6 ข้อที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ แต่ก่อนจะเข้ามาเป็นตำรวจ น้อง ๆ ต้องทราบว่า ตำรวจไทยนั้น มีจำนวนมากกว่า 2 แสนนาย ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีการกำหนดยศ กำหนดตำแหน่งไว้

ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จะมียศตั้งแต่ พลตำรวจ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) สิบตำรวจตรี สิบตำรวจโท สิบตำรวจเอก จ่าสิบตำรวจ และดาบตำรวจ


ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จะมียศตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท ร้อยตำรวจเอก พันตำรวจตรี พันตำรวจโท พันตำรวจเอก พลตำรวจตรี พลตำรวจโท พลตำรวจเอก




สำหรับน้อง ๆ หรือผู้ปกครอง ที่สนใจจะให้บุตรหลานท่านเข้ารับราชการตำรวจ ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเปิดรับบุคคลภายนอกเข้าไปข้าราชการตำรวจ ทางหลัก ๆ คือ

1. เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ กลุ่มนี้จะเปิดรับสมัครพร้อม ๆ กลุ่มทหารเหล่าต่าง ๆ คือทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ จะรับบุคคลชายอายุตั้งแต่ 14 – 17 ปี วุฒิการศึกษา ม.3 ยอดรับแต่ละปี ประมาณ 200 คน เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นระยะเวลา 3 ปี และเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อีก 4 ปี สำเร็จการศึกษา ประดับยศ ว่าที่ร้อยตำรวจตรี เข้ารับราชการในสังกัดต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่อไป



2. เป็นเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ กลุ่มนี้จะเปิดรับจำนวนมาก โดยจะเปิดรับสมัครประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. โดยจะแบ่งออกเป็น 2 สายงานหลัก ๆ คือ งานป้องกันปราบปราม และงานอำนวยการและสนับสนุน


คุณสมบัติ สายงานป้องกันปราบปราม
เพศชาย
วุฒิการศึกษา ม.6 หรือ ป.ว.ช.
อายุตั้งแต่ 18 – 27 ปีบริบูรณ์
ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม.
ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ จบ รด.ปี 3
คุณสมบัติ สายงานอำนวยการหรือสนับสนุน
เพศชาย หรือ เพศหญิง
วุฒิการศึกษา ม.6 ป.ว.ช. หรือเทียบเท่า
อายุตั้งแต่ 18 – 35 ปีบริบูรณ์
เพศชาจต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ จบ รด.ปี 3
สำหรับการทดสอบ จะแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
1 ภาคความรู้ความสามารถ จะสอบในวิชา ดังต่อไปนี้
- ความสามารถทั่วไป
- ภาษาไทย
- ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
- จริยธรรมและกฎหมายที่ประชาชนควรรู้
2 ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย แบ่งเป็น
 - วิ่ง ระยะทาง 1000 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 4 นาที 50 วินาที ถือว่าผ่าน
 - ว่ายน้ำ ระยะทาง 25 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที ถือว่าผ่าน
 - สอบสัมภาษณ์ จะเป็นกำรประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ที่จะแต่งตั้งจำกพฤติกรรมที่ปรากฏ ซึ่งก็จะมีแค่ ผ่าน กับ ไม่ผ่าน ส่วนมากคณะกรรมการจะไม่ให้ตกสัมภาษณ์ ยกเว้นแต่จะแบบว่าพูดจาไม่รู้เรื่อง หรืออย่างไรก็ตาม แต่ที่ผ่านมา มีไม่กี่รายที่ตกสัมภาษณ์
การตรวจร่างกายจากคณะกรรมการแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ที่ไม่เป็นโรคหรืออาการตำมที่กำหนดไว้ ถือว่า ผ่าน

   
                                                ตัวอย่างประกาศรับสมัคร ประจำปี พ.ศ.2555

อันนี้เป็นรายละเอียดอย่างคร่าว ๆ น้อง ๆ ต้องทำศึกษา ทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมาย ซึ่งบางครั้งน้อง ๆ ต้องปฏิบัติตัวเอง ไม่ให้ผิดหลักเกณฑ์ เช่น ห้ามสักผิวหนัก ห้ามเจาะหู เป็นต้น น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.policeadmission.com
เมื่อน้อง ๆ ผ่านการคัดเลือก โดยวิธีการสอบคัดเลือก น้อง ๆ ที่สอบคัดเลือกเข้ามาในสายงานป้องกันปราบปราม ต้องเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์ฝึกอบรมตามภาคต่าง ๆ ที่น้องสมัครเข้ามา เป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างฝึกอบรมจะได้รับเงินเดือน ๆ ละ 1,360 บาท และเมื่ออบรมเสร็จเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง ยศสิบตำรวจตรี ณ หน่วยงานที่น้อง ๆ เลือกตามคะแนนการสอบวัดผลระหว่างการฝึกอบรม อัตราเงินเดือน 6,970 บาท มีเงินเพิ่มสำหรับสายงานป้องกันปราบปราม 3000 บาท และค่าครองชีพ สำหรับผู้มีเงินเดือนไม่เกิน 12280 บาท จำนวน 1500 ต่อเดือน รวม ๆ แล้วก็ถือว่าอยู่ในอย่างสมศักดิ์ศรี กับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน






งานป้องกันปราบปราม หรือ งานสายตรวจ

งานป้องกันปราบปราม ถือได้ว่าเป็นแม่บ้านของสถานีตำรวจ เพราะทุกอย่างต้องผ่านมางานนี้ก่อน ลำดับแรก ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้  งูเข้าบ้าน แม่บ้านทะเลาะกัน ต้องเรียกหาสายตรวจ ส่วนการจะดำเนินการอย่างไรขึ้นอยู่กับการบริหาร จัดการของหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือเรียกว่าผู้กำกับการสถานีนั่นเอง

หลาย ๆ ท่านคงชินกับภาพเหล่านี้ครับ เพราะนี่คงงานของสายตรวจ ที่ท่าน ๆ ชินนั่นเอง


งูเข้าบ้าน


สายตรวจบริการประชาชน

ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่แต่ละครั้งต้องมีการประชุมกันก่อน


ตรวจตู้แดง - ตรวจร้านทอง

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ถือได้ว่าเป็นทีเด็ดสำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะปฏิบัติภารกิจที่มีความยุ่งยาก มากยิ่งขึ้นกว่าจะใช้กำลังตามปกติได้ ส่วนมากจะใช้สำหรับภารกิจสำคัญจริง ๆ เช่น ภารกิจบุกชิงตัวประกัน ภารกิจช่วยเหลือบุคคลสำคัญของประเทศ เป็นต้น
สำหรับตำรวจมีหน่วยงานที่เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษ สำคัญ ๆ 3 หน่วยงาน คือ
1 หน่วยคอมมานโด (Commando) สังกัดกองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตรวจสอบสวนกลาง


สัญญลักษณ์ กองบังคับการปราบปราม 
 ผู้นำหน่วย



  ภารกิจด้านการบริการ ให้ความรู้กับประชาชน


ภารกิจต่าง ๆ 


ผลงานคดีสำคัญ ๆ 



2 หน่วยอรินทราช 26 สังกัดตรวจปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตรวจนครบาล
3 หน่วยนเรศวร 261 สังกัดตรวจตระเวณชายแดน
4 หน่วยสยบไพรี สังกัดตรวจปราบปรามยาเสพติด
5 หน่วยปฏิบัติการพิเศษประจำตำรวจภูธรภาค 1-9 ประจำกองบังคับการ ประจำตำรวจภูธรจังหวัด ประจำสถานีตำรวจทุกหน่วย