วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข่าวเกี่ยวกับการเปิดสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี 2557

สำหรับผู้ที่มีความตั้งใจจะเข้ามาเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา
ในชั้นที่เปิดรับ คือ วุฒิ ม.6 หรือ ปวช. หรือเทียบเท่า หรืออาจจะเป็นผู้ทีเคยผ่านการสอบมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะด้วยเหตุผลหลากหลายประการ เช่น เตรียมตัวไม่พร้อม ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอบ เป็นต้น จะอย่างไรก็ตาม ไม่มีความล้มเหลว สำหรับผู้ที่มีความพร้อม มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มเปี่ยม 

ขอให้ผู้ที่มีความมุ่งมั่น เตรียมพร้อม ประสบความสำเร็จครับ 


นี้คือแผนการรับสมัครนักเรียนนายสิบตำรวจ ประจำปี 2557 จำนวนที่รับ 5,000 อัตรา กำหนดการที่จะเปิดรับสมัคร คาดว่าน่าจะประมาณเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2557 และสอบประมาณเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2557

โดยรับจากผู้มีวุฒิ ม.6 ปวช. หรือเทียบเท่า (ในเอกสารอาจจะระบุไว้ว่า ป.ตรี ซึ่งน่าจะผิดพลาด)
ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องรอติดตามต่อไปนะครับว่า จะเปิดรับอย่างไร คือ
1 สายป้องกันปราบปราม จำนวนทีรับ และจะที่สำคัญ จะรับผู้หญิงเข้ามาเป็นสายป้องกันปราบปรามหรือไม่
2 สายอำนวยการและสนับสนุน จะเปิดรับสมัครหรือไม่ 
สำหรับคุณสมบัติว่าจะกำหนดอย่างไร ก็เข้าไปดูรายละเอียดตรงนี้ครับ http://aboutthaipolice.blogspot.com/2013/07/2556_7.html 

หากมีความคืบหน้าใด ๆ จะนำความเคลื่อนไหวมาแจ้งให้ทราบต่อไปครับ

กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ที่ข้าราชการตำรวจควรทราบ

สำหรับผู้ที่รับราชการอย่างพวกเราจะเลี่ยงไม่ได้ คือ วันหนึ่งจะต้องถึงวันนั้น คือ วันเกษียรณอายุราชการ
หากไม่ลาออกซะก่อนนะครับ แม้หนทางจะยังอีกยาวไกล แต่การเตรียมการ เตรียมตัว การคาดการล่วงหน้า
ว่าต่อไปจะเจออะไรบ้าง จะได้ปฏิบัติตัวถูกครับ
กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) เป็นของใหม่ (ซึ่งมีนานแล้ว) หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจครบถ้วน
และที่ผ่านมา กองทุนนี้ก็สร้างภาพลักษณ์ให้พวกเราข้าราชการทั้งหลายพยายามมองให้เห็นถึงภาพลักษณ์
ความมั่นคงที่จะได้รับเมื่อเกษียรณอายุราชการ ดั่งนี้ ผู้เขียนจะได้นำตัวอย่างต่าง ๆ ว่า เพื่อน ๆ ข้าราชการตำรวจจะได้รับ
อะไรบ้าง จากกองทุน โดยเฉพาะพวกเรา ที่ถือว่าเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2540 ไม่มีสิทธิจะลาออก ก็ต้องยอมรับ
กับสิ่งที่เป็น และเรียนรู้ว่า กบข. คืออะไร แล้วจะให้อะไรกับเราบ้าง

ตัวอย่างทั้งหมดจะยกตัวอย่างจาก ด.ต. เสรี และ ร.ต.อ. เสรีฯ อายุราชการ 35 ปี มีเงินเดือน ณ วันเกษียรณ จำนวน 35220 บาท (ณ ปี พ.ศ.2556 ยศดาบตำรวจ และ ร้อยตำรวจเอก จะมีอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดตันที่ 35220 บาท เท่ากัน และทั้ง 2 ก็เงินเดือนเต็มขั้นมากว่า 5 ปี เพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย แต่สำหรับบางท่านที่ขั้นระดับสารัตรได้ ก็จะได้รับเงินเดือนขึ้นสูงสุดที่ 49,830 บาท ซึ่งการคิดคำนวณตัวเลขก็จะเปลี่ยนไปครับ)

สมาชิก กบข. ที่เลือกรับ บำนาญรายเดือน ก็คือ ผู้ที่ยังไม่ต้องการตัดขาดจากระบบราชการประสงค์จะเป็นข้าราชการบำนาญ

และรัฐยังอุดหนุนจุนเจือในด้านสวัสดิการต่าง ๆ ต่อไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับประโยชน์ที่ได้คือ

1 เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม และเงินจากประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ สามารถดูยอดเงินได้จากยอดใบแจ้งยอดจาก กบข. ที่แจ้งให้ทราบทุก ๆ สิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีครับ ซึ่งยอดเงินในส่วนนี้ก็ขึ้นกับอัตราที่เราได้ให้ทาง กบข. หักนำส่ง ว่านำส่งเดือนละเท่าไร เริ่มต้นที่ 3% - 10% คิดเป็นยอดเงินเท่าไร รัฐก็จะสมทบเท่านั้น ถ้าคิดในแง่ดี หากเราหักเยอะ รัฐก็จะสมทบเยอะ ยอดสะสมก็จะเยอะไปด้วย แต่บอกตามตรง ว่าไม่มั่นใจครับ ว่าเมื่อถึงวันนั้น กองทุนนี้จะยังมีชีวิตอยู่เพื่อพร้อมจะจ่ายเงินนั้นเราหรือเปล่า แต่ตามกฎหมายก็ต้องยอดให้หัก ในอัตราขั้นต่ำสุด หากเป็นเช่นนั้น โดยเฉลี่ยจะมียอดสะสมในส่วนนี้ประมาณ 2.0-2.5 ล้านบาทครับ

2 เงินบำนาญรายเดือน คำนวณจากการนำเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วยอายุราชการ (อายุราชการตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 35 ปี และหารด้วย 50 จะได้จำนวนเงินบำนาญ แต่จำนวนเงินที่จะได้รับต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือน

กรณีบุคคลตามตัวอย่าง  (35220 บาท X 35 ปี) หาร 50 ผลที่ได้ 24,654 บาท แต่จะได้รับไม่เกิน 70% คือจำนวน 17,257 บาท

สรุป กรณีตามตัวอย่างจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน ๆ ละ 17,257 บาท

3 เงินบำเหน็จดำรงชีพ จะได้ 15 เท่า ของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) โดยแบ่งจ่าย 2 ครั้ง ครั้งแรกไม่เกิน 200000 บาท เมื่อปลดเกษียรณ และครั้งที่ 2 เมื่ออายุครบ 65 ปี จะจ่ายที่เหลือ

กรณีตามตัวอย่าง คือ บำนาญรายเดือน จำวน 17,257 X 15 เท่า เท่ากับ 258,855 บาท โดยจะแบ่งจ่าย 200,000 เมื่อปลดเกษียรณ และอีก 58,855 บาทเมื่อผ่านไป 5 ปี

4 เงินบำเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม ก็จะมีเงินบำเหน็จตกทอดแก่ทายาท อีก 30 เท่า ของบำนาญรายเดือน คำนวณได้เท่าไร ก็รับไปทั้งหมด โดยไม่แบ่งจ่าย ทายาทที่จะได้จะเป็นทายาทที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้

กรณีตามตัวอย่าง คือ ทายาทก็จะได้ 258,855 บาท

จะเห็นได้ว่าเมื่อปลดเกษียณไป (สำหรับผู้เขียนก็อีกเกือบ ๆ 30 ปี กว่าจะถึงวันนั้น) จำนวนเงินที่ได้รับ ณ วันนั้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินเดือนให้แตกต่างจากนี้ไปให้มากกว่านี้ เดือดร้อนแน่ ๆ ครับ เพราะวันนี้ข้าวแกงจานหนึ่ง ๆ ราคาก็ 35-40 บาท ต่อไปอีก 30 ปี ราคาคงไม่ใช่เท่านี้แน่นอน

หวังว่าบทความนี้อาจจะเพิ่มความรู้ความเข้าใจในกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ (กบข.) ให้กับท่านที่สนใจได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://www.policebd51online.com/gpf-for-bd.html